(James Harris Simons ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงในการสร้าง Market Model ในปัจจุบัน : ที่มาของรูป http://en.wikipedia.org/wiki/James_Harris_Simons )
สวัสดีปีใหม่ทุกคนด้วยนะครับ ขอให้มีความสุขอย่างแท้จริงยิ่งๆขึ้นไป มีความทุกข์เข้ามาบ้างก็เป็นเรื่องปกติของชีวิต ขอให้มีกำลังใจอย่าได้ท้อถอยไปกับมันนะครับ
หลังจากเริ่มทำเฮดจ์ฟันของตัวเอง ประกอบกับต้องแบ่งเวลาให้กับครอบครัวมากขึ้น ก็พบว่าเวลาในการท่องโลกอินเตอร์เน็ตของผมลดน้อยลงทุกวัน ทำให้เขียนบล็อคได้น้อย หรือ ตอบคำถามกับเพื่อนๆได้น้อยลงมากๆ ยังไงก็ต้องขออภัยด้วยนะครับที่ไม่สามารถตอบอะไรได้มากเท่าไร แต่ผมก็จะตั้งหน้าตั้งตา แชร์ความรู้ต่อไปเรื่อยๆตามที่ตั้งใจทันที ที่มีเวลาแว่บเข้ามา
คราวที่แล้วหลังจากที่ผมพูดถึงความเสี่ยงในด้านการตัดสินใจของ Fund manager แล้ว (ไม่ต้องสนใจสูตรก็ได้ครับ กราฟต่างๆเป็นเพียงข้อชี้ให้เราเห็นว่า การตัดสินใจในช่วงเวลา time frame สั้นๆเนี่ยมันมีความเสี่ยงจากการผันผวนของตลาดมากน้อยแค่ไหน
คราวนี้หัวข้อต่อมาที่ Fund Manager ของเฮดจ์ฟันจะต้องคำนึงถึงต่อมา ถือเป็นเรื่องสำคัญในการที่เฮดจ์ฟันนั้นๆจะไปรอดได้ตลอดรอดฝั่ง หรือ อายุยืน หรือปล่าวนั่นเอง
Strategic Capacity หรือ ขีดจำกัดของ Model ที่แต่ล่ะคนออกแบบมานั่นเอง
เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องใหม่สำหรับในบ้านเรา และก็ยังใหม่สำหรับข้างนอกด้วยเช่นกัน เพราะเรื่องนี้ส่วนมากคนในวงการเฮดจ์ฟันจะให้ความสำคัญมากเช่นกันไม่แพ้เรื่อง Money Management เลย งั้นมาเริ่มกันเลยครับ
Capacity Strategic คือ ขีดจำกัดของกลยุทธ์ที่แต่ล่ะคนขบคิดแล้วออกแบบมาเพื่อเอาชนะตลาด เราจะสังเกตได้ว่าทุกคนต่างก็พยามคิดค้นหาโมเดลที่สามารถเอาชนะตลาดได้ด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะวิธีการไหนๆก็ตาม ล้วนต่างจะต้องเจอขีดจำกัดนี้ด้วยกันทั้งสิ้น ซึ้งสามารถพิสูจน์ได้โดย สมการของคณิตศาสตร์ ที่เรียกกันว่า Polya Process และนี่เองเป็นสาเหตุที่ทำให้กลไกของตลาดโลกในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น แม้กระทั่ง วอเรนต์ บัฟเฟต อัจฉริยะ ด้านการลงทุน หรือ จอร์จ โซรอส ก็ยังต้องมีการปรับเปลี่ยนสไตล์ของตัวเองเพื่อให้เหมาะกับกลไกของตลาดที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ซึ่งนั่นก็ทำให้เราเห็นว่า ผู้เก่งกาจทั้งสองท่านนี้เก่งกาจมากเพียงพอที่จะเห็นกลไกของตลาดก่อนคนอื่นๆ แล้วไม่ยึดถือความคิดของตัวเองเป็นหลัก ซึ่งเป็นเรื่องที่คนทั่วๆไปจะทำได้ยากอยู่แล้วกับการต่อสู้หรือปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ในความคิดและความเชื่อของตัวเอง
Capacity Strategic จะส่งผลให้เราเห็นเมื่อไร
สำหรับนักลงทุนรายย่อยที่ไม่ได้อยุ่ในกองทุนที่บริหารเม็ดเงินจำนวนมาก ก็จะเข้าใจถึงสถานการณ์แบบนี้ได้ยากหน่อย และนี่เป็นสาเหตุหลักเลยที่ทำให้นักลงทุนส่วนบุคคลหลายๆท่านที่มีพอร์ตโตระดับหลายสิบ หรือ หลักร้อยล้าน ขึ้นไป แล้วติดไปต่อไม่ได้ จึงเป็นสาเหตุต้องหันไปเข้าก๊วนกันเพื่อรวมตัวกันเพื่อสร้างราคาหุ้นกันเลยก็มี
ในเมื่อนี่เป็นปัญหาสำหรับรายใหญ่ แต่ทำไมเรื่องนี้สำคัญสำหรับรายย่อยด้วย ?
พอพูดถึงเรื่องนี้หลายคนมักจะมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่เป็นเรื่องความเสี่ยงระดับกลยุทธ์เลยทีเดียว เพราะเมื่อไรที่กลยุทธ์เราดีพอ แล้วเราบริหารจนพอร์ตโตขึ้นไปขนาดนั้น จนเราเชื่อมั่นในกลยุทธ์ของตัวเราเองเต็มที่แล้ว ด้วยขบวนการนี้เอง กลยุทธ์ที่เราเชื่อมั่นกลับจะเป็นตัวทำลายพอร์ตของเราเสียเอง นี่เป็นสาเหตุการจบลงของหลายๆกองทุน รวมทั้งเฮดจ์ฟันของสถาบันการเงินต่างๆ เพราะเมื่อไรที่เราใช้กลยุทธ์จนถึงระดับนั้นแล้วเป็นการยากและเสี่ยงมากที่เราจะเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ที่เราเคยทำมาอยุ่ทุกวัน เพราะการปรับเปลี่ยนก็จะเกิดความไม่แน่นอนในพอร์ตของตัวเองเช่นกัน นี่เลยเป็นสาเหตุเหตุที่หลายๆกองทุนพยามเลือกตลาดที่มีผู้เล่นมากๆ วอลุ่มเยอะๆ เพื่อลดผลกระทบจากเหตุการณ์เหล่านี้นั่นเอง การล่าอนานิคมทางการเงินในหลายๆประเทศจริงเป็นบ่อเกิดขึ้นมา
ยกตัวอย่างสมมุติเราใช้ โมเดล เทคนิค ในการตัดสินใจซื้อขายหุ้น ตัวหนึ่ง
ช่วงแรกๆการซื้อขายของเรามีมูลค่าน้อยมาก เช่นหลักแสน ผู้ที่เสียผลประโยชน์จากการตัดสินใจของเราก็จะน้อยตามเช่นกัน เช่นถ้าเราตัดสินใจถูกในกำไรหลัก 10% ก็จะมีผู้เสียผลประโยชน์ในระดับเงินหลักหมื่นแค่นั้น ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่น้อยมากในเกมส์การเงิน แต่ถ้าเราเกิดมีพอร์ต 100 ล้าน 10% ของผลประโยชน์ของราคาที่เราจะได้รับ คือ 10 ล้าน การที่จะมีคนรวมๆกันยอมจ่ายผลประโยชน์ให้เราในระดับนั้นเนี่ย ไม่ใช่เรื่องง่าย หรือต้องมีเหตุการณ์อะไรที่มัน Drive ตลาดให้มันไปจริงๆ เลยเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมหลายคนอัดหุ้นไปเป็นล้าน แล้วหุ้นไม่ขยับกลับลงต่อนั่นเอง และเป็นสาเหตุทั้งการสร้างข่าว ทำราคา ต่างๆของตลาด ก็เพื่อพยามจะ drive ราคาของมันไปให้ถึงระดับที่ตัวเองต้องการ (แต่นั่นคือ Dark side ที่นักลงทุนรายใหญ่หลายคนมักไปจบลงตรงนั้น)
ดังนั้นเนื่องจากเฮดจ์ฟันต้องเล่นในรุปแบบเกมส์ตามกติกา เพราะต้องเข้าไปลงทุนอยุ่ในหลายๆตลาด ที่บางทีไม่มีเครือข่ายหรือ รู้จักใครด้วยซ้ำ แต่เราจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไร นี่คือสิ่งที่หลายๆห้อง lab ของเฮดจ์ฟันวิจัยแล้วพัฒนากันจนเรียกได้ว่าก้าวข้ามระดับความรุ้ขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง
ความรุ้โมเดลอันนั้นส่วนมากจะใช้ในกองทุนที่เป็น Close fund ส่วนมาก เพราะต้องการแสวงหาผลประโยชน์จากกองทุน ส่วนมากที่ยังเชื่อในเรื่องของ สถิติ และการพัฒนาปัจเจกโมเดล ดังนั้นโมเดลที่กองทุนเหล่านี้สร้างขึ้นมา จะไม่ใช่ปัจเจกโมเดลกล่าวคือ เป็นโมเดลที่จำลองตัวว่าตัวเองเป็นตลาดเช่นกัน โดยการเข้าไปสวมในตลาดอีกทีหนึ่ง เพื่อรองรับการตัดสินใจของปัจเจกโมเดลหลายๆที่ และหาผลประโยชน์จากตรงนั้น ถ้ายกตัวอย่างเป็นแบบ basic เลยเพื่อนๆก็อาจจะเห็นว่า kzm เป็นรุปแบบหนึ่งของ Market Model เช่นกัน ซึ่งถือว่าเป็นความรู้ระดับเบื้องต้นในการสร้าง market model นั่นเอง เพียงแต่ของเฮดจ์ฟันจะรุนแรงและมีeffect ต่อตลาดค่อนข้างมาก เนื่องจากมีการพัฒนาโครงสร้างทางการเงินระหว่างประเทศที่ซับซ้อนเข้าไปด้วย ดังนั้น กองทุนที่ใช้ market model จึงไม่ค่อยมีปัญหาขีดจำกัดของการโต ซึ่งอาจจะโตช้า แต่ในระยะยาวแล้วโอกาสล้มจากกลยุทธ์ของตัวเองนั้นน้อยมาก (สาเหตุของการล้มอยุ่ข้างล่างครับ) ซึ่งกองทุนกลยุทธ์แบบนี้ถ้าทำมานานมักจะมีขนาดใหญ่มากแต่ก็ยังโตไปเรื่อยๆได้
เฮดจ์ฟันที่กลยุทธ์แบบนี้ที่ปิดไป ตามประวัติศาสตร์มาก็มีเพียงสาเหตุหลักๆคือผู้จัดการกองทุนเสียชีวิตหรือปรับเปลี่ยนแล้วคนที่มารับช่วงต่อไม่เข้าใจในสิ่งที่กองทุนกำลังทำและสร้างมาอย่างยาวนานดีพอนั่นเอง
ไม่มีเวลาตรวจทานอักษรเช่นเคย ขออภัยหากพิมพ์ผิดนะครับ โอกาสหน้าจะมาต่อใหม่ครับ วันนี้โชคดีทุกท่าน สวัสดีปีใหม่ 2010 ครับ :)
11 comments:
สวัสดีปีใหม่ครับคุณmudley
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ที่รออ่านมานานครับ
แล้วจะรอตอนต่อไปอีกเรื่อยๆนะครับ
^_^
happy new yearเช่นกันคับกำลังอ่านมันๆจบซะได้--' ยังไม่ได้พูดถึงกลยุทธ์เลย รออยู่นะคับ
มีความสุขมากเท่าที่ต้องการนะคับ
happy new year ครับพี่ ขอบคุนสำหรับบทความดีดีครับ ติดตามอ่านอยู่เสมอครับ
เนื้อหาน่าสนใจมากเลยครับ
ความรู้พวกนี้สามารถหาอ่านได้จากตำราไหนบ้างครับ
สวัสดีปีใหม่ คุณ MudleyGroup ด้วยครับ
ขอให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง
และประสบความสำเร็จในทุกสิ่งที่ตั้งใจไว้นะครับ
สวัสดีปีใหม่ครับ ขอให้พรที่พี่ให้จงกลับไปหาพี่เป็นเท่าทวีคูณ สุขสมปรารถนา
สุดยอดครับ เป็นความรู้ใหม่
เรื่อง market model พวกนี้นี่ผมไม่เคยรู้เรื่องมาก่อนเลย
สวัสดีครับท่านมัด
ช่วงปีใหม่ ผมไปหาอ่าน Man's Search For meaning คนเขียนชื่อดร.วิคเตอร์ แฟรงเกิล เขียนเกี่ยวกับเรื่อง Logotherphy เขาป็นจิตแพทย์ เป็นเฉลยในค่ายกักกันในสงครามโลก 2 เป้นคนยิวครับ เหมือนแรบไบโซรอส ผ่านช่วงเดียวกับแรบไบโซรอสมา หนังสือเล่มนี้เลยทำให้ผมตัดสินใจไปดูหนังเรื่อง Schinder's list
ดูไป ถามไป ถ้าผมเป้นคนยิวในช่วงอย่างนั้น ผมจะรู้สึกอย่างไรบ้าง
ตอนแรกไมได้ตั้งใจว่าจะได้อะไรเกี่ยวกับ reflexivity จากหนังสือเล่มนี้ แต่เล่มนี้กลับทำให้ผมเข้าใจ reflexivity มากที่สุด
อย่าพลาดนะครับ....
คุณ mudley ช่วงนี้คงไม่ว่างใช่ไหมครับ รออ่านบทความดีๆ อยู่นะครับ...
ขอบคุณมากครับ สุดยอดมาก
Post a Comment