Sunday, May 25, 2008

การใช้ leverage ในเฮดจ์ฟัน

(ทำ Perfomance Distribution เพื่อดูประสิทธิภาพของโมเดลเรา และวางแผนกลยุทธ์ต่อไป)

การใช้ leverage คือการยืมเงินจากคนอื่นมาลงเพิ่มนั่นเอง วันนี้เราจะเล่าเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้ฟัง แน่นอนพวกนายเคยชินกับการใช้มาร์จิ้นในการเทรด Future กันอยู่แล้ว และ หลายคนคิดว่าวิธีการนี้เสี่ยง เลยคิดว่าเฮดจ์ฟันที่ใช้ leverage เนี่ยคือพวกชอบเสี่ยงเอาผลตอบแทนสูงๆ การใช้ leverage นั้นจริงๆมีรากฐานแนวความคิดมาจาก กลยุทธ์ออกก่อนโมเดลนั่นเอง เพียงแต่ในตำราจะสอนให้เราเห็นถึงด้านเดียวของมันคือการกู้เงินมาลงทุน ดังนั้นวันนี้เราจะมาดูกลยุทธ์วิธีการใช้ leverage ที่ถูกต้องกัน

1. การใช้ leverage นั้นจะต้องใช้เพียงเพื่อย่นเวลาในการถือครอง Position ลงนั่นเอง หลังจากที่เราทำโมเดล และ ทำ Profit index ออกมาดูแล้วเราจะรู้ประสิทธิภาพของโมเดลของเราว่า การทำกำไรเฉลี่ยนมาตรฐานอาจจะอยู่ที่ 8 % แบบนี้เป็นต้น และการที่จะให้ได้ 8%นั้นมีความเสี่ยงในการถือครองแล้วราวๆ 4 วันเป็นต้น และโมเดลเราอาจจะมีความแม่นยำอยู่ที่ 70% อะไรทำนองนี้ ดังนั้น เฮดจ์ฟันจะทำการยืมเงินบางส่วนเช่นเดิมลงทุน 10,000 อาจจะยืม โบรกเกอร์อีก 10,000 เพื่อที่จะให้ได้กำไรตามระบบในเวลาที่สั้นลงนั่นเอง ดังนั้นพอถึงวันที่ 2 ของการลงทุน หากคำนวนตามพื้นฐานเงินที่ลงทุนจริงๆเริ่มต้น Fund อาจจะกำไร ถึง 8% ตามระบบแล้วก็ได้ หลังจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์บาง Fund นั่นเอง แต่โดยมาก Fund ก็จะใช้หนี้คืนโบรกหาก Profit ถึงเป้าป้องกันความเสี่ยงแล้ว โดยอัตราส่วนบางที บาง Fund ก็อาจขายออกมาเช่น 10000เหลือ ส่วนทุน 10000 ถือLong Run ไว้ตามระบบ หรือบาง Fund อาจขายออกมา 12000 เหลือส่วนทุนถือไว้ 8000 เป็นต้น ก็แล้วแต่กลยุทธ์การคำนวนนั่นเอง ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า ทำไมระหว่างการใช้ leverage ในรายย่อยถึงเป็นการเสี่ยง แต่ทำไมใน Fund ถึงช่วยลดความเสี่ยง เพราะรายย่อยนำ leverage มาเพื่อทำกำไรให้มากขึ้นโดยใช้ leverage ที่สูงมากเช่น Future อาจจะอยู่ที่ 10 เท่า หรือ บางตลาดอาจใช้ถึง 300-400 เท่าเป็นต้น แต่ fund ทำเพื่อเอากำไรที่ตัวเองควรจะได้ให้เร็วขึ้น บางทีใช้อย่างมากก็ 2-3 เท่า โดยลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนในอนาคตนั่นเอง นี่เป็นหลักการที่ผู้บริหารกองทุนหลายคนบางทีก็ยังไม่ทราบเหมือนกัน จึงมีบาง Fund ที่ใช้ leverage ไม่เป็นเจ๊งไปเป็นตัวอย่างนั่นเอง

2. หากขาดทุนล่ะไม่เท่ากับขาดทุนเพิ่มขึ้นหรอ ? เป็นที่มาว่าการใช้ leverage นั้นเราต้องมีโมเดลที่มีประสิทธิภาพ 70% ขึ้นไปนั่นเอง และเป็นโมเดลที่สามารถทำกำไรในเทอมของ Long run ได้ด้วย หากเป็นไปตามระบบ และการขาดทุนนั้นหากไม่เป็นตามระบบเป็นเพียงการขาดทุนระยะสั้น แต่หากเป็นไปตามระบบกำไรที่เราจะได้นั้นก็จะคุ้มค่าเมื่อเทียบกันแล้ว ดังนั้นเราจึงต้องคำนวนอัตราส่วนการใช้ leverage ให้ดีนั่นเอง ซึ่งจริงๆแล้วมีวิธีคำนวนอยุ่แต่ถ้า เพื่อนๆคำนวนแบบบ้านๆก็ได้ อย่าไปคิดไรซับซ้อนมาก ลองพยามหาวิธีดู ถ้าคำนวนไม่ได้จริงๆค่อยบอกกันแล้วกัน ให้เป็นไอเดียสำหรับ เทรดเดอร์ Mudley Group เฉยๆ

4 comments:

keng said...

แวะมาเยี่ยมครับ ขอบคุณมากครับสำหรับความรู้ครับ

ช้างทมิฬ said...

เป็นได้ไหมครับ
ที่เราจะใช้ฟิวเจอร์เล่นเพื่อสร้างรายได้หลัก โดยใช้วิธีการจัดการเงินอีกรูปแบบหนึ่่ง(แยกพอร์ทต่างหาก)

แล้วเราใช้ฟิวเจอร์หรือออปชั่น เพื่อใช้ในการจัดการความเสี่ยงในสินทรัพย์ ที่เราต้องการสะสมไม่ยอมขายออกเด็ดขาดหากไม่จำเป็นจริงๆ เช่นกองทุนอสังหาบางตัว หุ้นขนาดกลางหรือเล็ก ตราสารหนี้ กองทุนทองคำ

โดยแยกกันคนละพอร์ท ใช้กลยุทธ์ที่ต่างกันไป

Unknown said...

ขอบคุณครับพี่ต้าน

sough said...

t8l40i8s24 d4n49f8k61 z4z79c8h66 v3y77s7d30 y2e18y6q52 t6m53q4j81