Tuesday, April 28, 2009

มาดูกันว่าวิกฤตงวดนี้เงินเข้ากระเป๋าใครไปบ้าง



8 comments:

apl24 said...

สวัสดีครับพี่
รวยๆกันทั้งนั้น ประเทศเป็นไงไม่รู้ขอตัวเองรอดไว้ก่อน
เหอๆ ผมชอบทฤษฎีทางเดินราคาน่ะพี่ไม่ทราบว่าจะไปหาอ่านได้ที่ไหนหรอครับ

ดอกไม้ DSM said...

สวัสดีครับ

รู้สึกไม่ค่อยดีนิดหน่อย

เลยอยากเข้ามาทักครับ

ช่วงที่อยู่กรุงเทพฯ บางวันที่รู้สึกแย่ ๆ

ไปนั่งในที่บางแห่ง หรือไปนั่งดูอาจารย์

รู้สึกใจสงบลงมาก

ดอกไม้ DSM said...

ได้ตามไปหัดเล่น Texas Holdem ด้วยครับ

ไป download เกมเล็ก ๆ มาเล่น

แล้วก็ได้อ่านหนังสือบ้างนิดนึง

เมื่อก่อนที่เคยอ่านนิยายของ Michael Connelly

ชุดนักสืบ Harry Bosch

แฟนของ Bosch คนนึง ที่เคยเป็นอดีต FBI

เค้าก็เลี้ยงตัวเองด้วยการเล่น Poker

แต่อ่านตอนนั้นก็ไม่เข้าใจเท่าไหร่

พอได้อ่าน Ace on the River ไปหน่อยนึง

ก็รู้สึกว่าได้เห็นภาพราง ๆ ขึ้นครับ

มีชีวิตชีวาดี

ขอบคุณอีกครั้งครับ

Anonymous said...

อยากถามคุณ mudley ว่า
1. การเข้าใจ ทฤษฎี Reflexivity สามารถ ทำนาย ราคาหุ้นได้จริงหรือ หรือว่าแค่อธิบายเฉยๆ
2. Boom -Bust Pattern สามารถเกิดได้ไหม ถ้าในการทดลอง มีสมาชิกเท่ากัน จำนวนเงินเท่ากัน เล่นหุ้นตัวเดียว (หมายถึงว่า ไม่มีเจ้ามือ หรือ market maker น่ะครับ)

Anonymous said...

สวัสดีครับ คุณดอกไม้รุ้สึกดีขึ้นบ้างยังครับ

ตอบเรื่อง Reflexivity นะครับ Reflexivity สามารถช่วยให้เรามองเห็นถึงความจริงของภาวะตลาด ภายใต้อคติต่างๆของนักลงทุน ซึ่งการลงทุนภายใต้ อคติ ต่างๆของตัวเราเนี่ย มันจะมีข้อผิดพลาดอยู่อย่างเสมอ เพราะเราเองไม่ได้รู้ถึงความจริงของตลาด หรือที่ยิ่งอันตรายมากกว่า คือบางคนเรียนมาสูงๆก็จะคิดว่าเรารู้ทั้งหมด โซรอสไม่ได้สอนให้เราทำนายตลาด เพียงแต่สอนให้เราเอาตัวรอดจากตลาดให้ได้ภายใต้สภาวะความไม่สมบูรณ์ของความรุ้ของมนุษย์เราซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมาครับ

สรุป ทฤษฎีของโซรอส จะเหมือน หลักของ เซน น่ะครับ หัวใจคือ เราคิดว่าตัวเองคือกระจก กระจกมันไม่เคยมีความเห็นใดๆต่อผู้ที่มาส่องมัน มันไม่เคยลงความเห็นว่าคนนี้สวย หรือ ขี้เหล่ มันแค่ทำหน้าที่ของมันไปคือสะท้อนภาพตามแต่วัตถุเหล่านั้นมาส่องกระทบกับมัน ซึ่งต่างกับคนเรา เรามักจะใส่อคติของเราเองเข้าไปอย่างไม่รุ็ตัวอยุ่เสมอซึ่งทำให้ความจริงคลาดเคลื่อนไปได้ เพราะบางทีคนสวยในสายตาเรา ก็จะเป็นคนขี้เหล่ในสายตาของคนอื่นได้เช่นกัน เป็นต้นครับ

Boom -Bust Pattern จะเกิดขึ้นได้ก้ต่อมีมีเหตุการณ์มาผลักดันความต้องการต่างๆของผู้คนที่มีส่วนร่วมในเหตุการณ์นั้น ถึงแม้ว่าจะไม่มีเจ้ามือ หรือ market maker เพราะ พฤติกรรมของมนุษย์มีลักษณะคล้อยตามกลุ่มอยู่แล้ว แต่ถ้ามี เจ้ามือก็เปรียบเสมือนตัวเร่งปฏิกริยานั่นเองครับ

ยกตัวอย่างลองศึกษาพฤติกรรมมนุษย์ในช่วงหุ้นรอบนี้สิครับ ก็จะเห็นว่าความคิดของคนเรามันแปรเปลี่ยนไปตาม Event ได้ง่ายขนาดไหน แต่ถึงแม้เราจะเห้นความจริง แต่เราจะไปฟื้นกระแส event ของผู้คนตั้งแต่แรกก็ไม่ได้ กล่าวคือเราต้องรอกระแสของผู้คนนั้นอิ่มตัวเสียก่อน ซึ่งก็คือหัวใจของ Reflexivity และ Boom-Bust model นั่นเองครับ :)

Anonymous said...

อ่า สำหรับทฤษฎีทางเดินราคานี่ ค่อนข้างจะหาอ่านยากนิดหน่อยครับ เอาไว้วันไหนว่างๆ ผมจะลองค้นมาลงอีกรอบนะครับ

monkkut (Anomymousข้างบน) said...

ถามต่อครับว่า

ถ้าเราไม่ได้อยุ่ในส่วนที่เป็น Manipulative Function หน้าที่ในส่วน Cognitive Function จะทำงานได้ดีกว่า ใช่หรือไม่ หรือว่าไม่จำเป็นครับ

เพราะจาก ทฤษฎี ส่วน manipulate จะ รบกวนส่วน cognitive และ จะรบกวนกันไปมาทั้งสองทาง

คุณ Mudley คิดว่ายังไงครับ :)

^O-O^ said...

สวัสดีครับ อ.มัด แวะมาอ่านทุกวันครับ วันไหนท่านไม่โพส ผมก็ย้อนไปอ่านงานเก่า ๆ อ่านไม่เข้าใจ ผมก้อ่านซ้ำ ไม่ค่อยได้เจอคนสนใจในเรื่องนี้เวลามีใครพูดให้ฟัง ผมต้องกางขาจองที่ วันนี้เรียนถาม อ.ว่า อาจารย์มัด ฝึก reflexivity ในทางปฎิบัติอย่างไรในชีวิตประจำวันครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ ^ ^