Saturday, June 07, 2008

Unexpected Return Often Arises From Unexpected Event


เพิ่งพูดเรื่องฟองสบู่น้ำมันจาก โซรอสไปเอง ไม่นึกว่าจะเร่งอัตราการสร้าง Bubble เร็วขนาดนี้ เทรดเดอร์ยิ่งต้องเทรดอย่างระมัดระวังให้มากขึ้น กระแสของคนจะผลักคนดันให้เกิดฟองสบู่ที่ใหญ่และรวดเร็วขึ้น เมื่อการกฏการสะท้อนกลับขึ้นเมื่อไร ถ้าว่าด้วยหลักโซรอสเราต้องซ้ำในด้านที่ผู้คนไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจนั่นเอง

(ส่วนงวดนี้ใครที่ short น้ำมัน หรือ Long หุ้นในอเมริกาไว้ จึงต้องโดนตอกย้ำความเจ็บปวดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ไปก่อนในรอบแรก)


ไหนๆก็ไหนๆวันนี้มาพูดถึงวิธีการของโซรอสกัน หลังจากที่ผมได้ศึกษาและติดตามแนวคิดมานาน


เหตุการณ์ที่ผู้คนในตลาดไม่ทันตั้งตัวนั้นเป็นช่วงเหตุการณ์ที่เหมาะในการทำ positions ซ้ำเติมตลาดในด้านนั้น เพื่อที่จะได้รับประโยชน์จาก Unexpected return อย่างเต็มที่ ที่ต่างจาก average return


ในเกมการเงินนั้นจำเเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องกระหน่ำซ้ำในด้านของผุ้แพ้นี่เป็นสิ่งที่เทรดเดอร์ของเฮดจ์ฟันจำเป็นต้องทำ เพราะเป็นโอกาสที่เราจะชนะคนอื่นๆได้ง่ายนั่นเอง บางทีเราเห็นเสียงร้องของผู้คนในตลาดถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ซึ่งก็คือผลกระทบของเกมการเงินในโลกของทุนนิยม "เมื่อไรที่เรายืนยัน เชื่อมั่น Position ที่เราวางไว้ว่ามันควรจะต้องเป็นแบบนั้น เมื่อนั้นหากเราผิดขึ้นมาและยังยืนกรานอยู่ในด้านนั้นแล้วล่ะก็ เราจะโดนพวกนี้ซ้ำเติมความพ่ายแพ้ของเราจนแทบไม่เหลืออะไร นี่คือสิ่งที่ต้องระวังให้ดี นี่อาจจะเป็นบทเรียนที่เราคงเคยได้เห็นจากการต่อสู้ค่าเงินมาบ้างแล้ว"


สรุปหลักของโซรอสนั้น เป็นหลักที่ใช้ได้จนถึงปัจจุบันนี้ และหลายเฮดจ์ฟันนำมาใช้ (เป็นหลักที่หลายคนมองว่าโหดร้าย แต่ถ้าเราเปิดใจเรียนรุ้ยอมรับความจริงในโลกของเกมการเงิน เราจะสามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ เพียงแต่ความรู้หรือวิชาการที่เราเรียนมาจากมหาลัยชั้นนำของโลก รวมทั้งธรรมชาติของมนุษย์เองแล้ว มันทำให้หลายๆคนยากที่จะยอมรับความผิดพลาด และยังคงเชื่อมั่นใน Solutions ของ คณิตศาสตร์ ที่ได้ nobel ต่อไป ซึ่งคนที่จ่ายค่าบทเรียนเหล่านี้ก็ยังเป็นคงฝั่งนี้ต่อไป อย่างเช่นกองทุน LTCM ซึ่งแม้มีนักเศรษฐศาสตร์โนเบลเป็นผู้จัดตั้ง กลับต้องจ่ายบทเรียนที่แพงที่สุดในประวัติศาสตร์ของกองทุน )


สรุปหลักการของ โซรอส "มนุษย์นั้นผิดพลาดได้ และยังคงทำผิดพลาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะโลกเการเงิน เพราะมันเป็นโลกของสังคมศาสตร์ ไม่ใช่ วิทยาศาสตร์เชิงวัตถุ หรือ คณิตศาสตร์ ดังนั้นการจัดการกับคนที่พ่ายแพ้ หรือ ยืนกรานในความเชื่อของตนเอง ย่อมทำกำไรได้ง่ายที่สุดและดีกว่าโมเดลทางคณิตศาสตร์ที่เรายึดถือกันมาด้วยซ้ำ "


ส่วนคราวหน้าเรามาตีแผ่ Reflexivity กันโดยละเอียดดีกว่า :)

4 comments:

keng said...

หลักการของโซรอส ผมเข้าใจว่า เขาพูดถึงมนุษย์ มีความยึดมั่นถือมั่นใจสิ่งที่ตัวเองคิด พูด และกระทำลงไป แม้ว่ามันผิดก็ยังคงยึดติดและความหวังว่ามันจะถูกต้องสักวัน (ผมเข้าใจเองนะ)

จะขอกลับไปนั่งคิดต่อนะครับ

ขอบคุณ คุณมัดเลย์มากๆ ครับ สำหรับประสบการณ์ดีๆ

Anonymous said...

เข้ามารออ่าน
"ตีแผ่ Reflexivity"
ขอเป็นภาษาไทยนะครับ ภาษาอังกิด อ่านไม่ออกครับ ^^"

ขอบคุณครับ

โอโนะ

Anonymous said...

ผมแปลแค่บทที่ 1 ก็แทบแย่แล้วครับ

ยากมาก ทั้งภาษาอังกฤษ แระแนวคิดเขา


ปล.ผมไม่เก่งอังกฤษ

Unknown said...

ขอบคุณครับ