Saturday, May 21, 2011

The Quants



ระยะหลังๆนี้ทางกองทุนของเราได้ใช้เวลาของกองทุนส่วนใหญ่ในการพัฒนาและปรับปรุงโมเดลเทรด ให้ทันสมัยขึ้น ทำให้หัวข้อในการสนทนาภายในกองทุนระยะหลังๆนั้นจะหนักไปทางด้าน Quantitative Analysis

หนึ่งในกระบวนการในการพัฒนาโมเดลนั้นก็คือการศึกษาแนวทางของผู้อื่นทำให้ เพื่อมองหาแนวคิดที่แตกต่างออกไป กระบวนการนี้ทำให้เราได้ทดสอบระบบของเราเองและ เปิดโลกทัศน์ที่แสนแคบของพวกเราให้กว้างขึ้น

เมื่อต้องมองแนวทางของคนอื่น เราก็อดไม่ได้ที่จะไปแอบมองสุดยอด idol ของพวกเรา ซึ่งก็คือ James Harris Simon นั่นเอง หากใครได้เคยอ่านประวัติของเขาแล้ว ก็จะเห็นผลประกอบการณ์ที่สุดยอดของเขา ทางเราเองยังพาลคิดไปได้เลยว่า เหรอนี่คือสุดยอด Madoff

ทั้งหมดมันเริ่มต้นด้วยความบังเอิญ ในขณะที่ทีม Quant กำลังระดมสองแสวงหาโมเดลใหม่อยู่นั้น ผู้จัดการของทุนของเราเกิดอาการนอนไม่หลับจึงไปขุดหนังสือเรื่อง The Quants: How a New Breed of Math Whizzes Conquered Wall Street and Nearly Destroyed It โดย Scott Patterson เจตนาแรกที่ทำให้อ่านก็หาอะไรอ่านก่อนนอนให้หลับง่ายขึ้นเท่านั้น

หลังจากที่อ่านประวัติของ Quant ชื่อดังหลายๆคนก็มาเจอะกับบทที่พูดถึง Simons

ธรรมดาเรื่องราวของ Simons ไม่ค่อยมีเล็ดลอดออกมาสักเท่าไหร่ เมื่อได้เห็นบทที่เขียนถึง Simons ก็อดที่จะตื่นเต้นไม่ได้ นอกจากพอที่จะคาดเดาวิธีการเอาชนะตลาดของ Simons ได้บ้างแล้ว ก็ยังได้เรียนรู้ถึงความเหนื่อยยากเบื้องหลังความสำเร็จของ Simons ได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตามข้อมูลของ Simon ที่ Patterson ได้เรียบเรียงมานั้นได้มาจากการสัมพาทย์อดีตพนักงานของ Renaissance และ พนักงานปัจจุบันที่ขอสงวนออกนามเพียงเท่านั้น เพราะ Simons ไม่เคยตอบรับการขอสัมพาทย์ของ Patterson เลย แม้ว่า Patterson พยายามติดต่อไปหลายครั้ง

Simons มีความอัจฉริยะทางด้านคณิตศาสตร์ตั้งแต่เด็ก ซึ่งทำให้เขาสามารถจบปริญญาตรีจาก MIT ได้ภายในเวลาสามปี เดิมที Simons ทำงานเป็นคนถอดรหัสสำหรับหน่วยราชการลับในยุดสงครามเวียดนาม เขาถูกให้ออกเพราะได้แสดงความคิดเห็นส่วนตัวแก่ผู้บังคับบัญชาโดยตรง ต่อมาได้ไปก่อตั้งภาควิชาคณิตศาสตร์ที่ State University of New York (SUNY) Stony Brook หลังจากที่สอนไปได้หลายปี และพัฒนาภาควิชาคณิตศาสตร์ของ Stony Brook (ในขณะนั้น) จนเป็นที่โด่งดัง เขาก็ลาออก พร้อมกับนักคณิตศาสตร์ในภาควิชาอีกจำนวนหนึ่ง มาก่อตั้งกองทุน ซึ่งกลายมาเป็น Renaissance Technology ในที่สุด กองทุนนี้เป็นกองทุนที่คุมเงินเป็นพันๆล้านเหรียญสหรัฐ แต่มีคนทำงานไม่ถึงร้อยคน (แต่พนักงานส่วนใหญ่จบปริญญาเอกแทบทุกคน)

โมเดลในการเทรดของ Renaissance นั้นอาศัยวิชาความรู้เดิมจากการเป็นนักถอดรหัสของ Simons ผนวกกับความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่เขามี

หลังจากการก่อตั้ง Renaissance ได้สักพัก Simons ก็กว้านซื้อบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเรื่อง Voice Recognition และ Crytography (เป็นคณิตศาสตร์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการถอดรหัส)
Simons เคยให้สัมพาทย์ว่า ตลาดนั้นมี pattern แต่โชคดีสำหรับผมที่เป็น pattern ที่หาได้ยากมาก ซึ่งทางผู้เขียน (Patterson) ได้สันนิษฐานว่าการหา pattern ตลาดของ Simons นั้นอาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลตลาดโดยใช้หลักการ Cryptography เพื่อจับ pattern ตลาดและอาศัย Voice Recognition ในการหา pattern ดังกล่าวในข้อมูลที่เกิดขึ้น

เมื่อได้รู้หลักการในการเอาชนะตลาดของ Simons พวกเราก็แทบไม่ได้หลับได้นอน

แต่ทว่าเรื่องราวของ Simons ไม่ได้มีเพียงแค่ด้านบวกเท่านั้น เรื่องราวแปลกก็มีไม่น้อยเช่นกัน Simons เป็นคนที่หวงวิชาอย่างมาก (แค่ข่าวเกี่ยวกับตัวเค้าก็หาได้ยากแล้ว) ดังนั้น Simons จะทำทุกวิถีทางที่จะทำลายอาชีพการงานของลูกจ้างที่ลาออกจากกองทุนของเขา ถ้าไปสืบค้นใน wikipedia จะเห็นว่ามีเพียงไม่กี่คนที่ยอมลาออกจากงาน ที่ให้เงินเดือนบวกโบนัสปีละหลายสิบล้านเหรียญ

พวกเราอดจะขำไม่ได้เมื่อได้รู้ว่า Renaissance มีนโยบาย Second 40 hours* ที่อนุญาติให้พนักงานนำ 40 ชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ส่วนที่สองไปทำงานในแผนกไหนก็ได้ในบริษัท

ความเครียดใน Renaissance เองก็ค่อนข้างสูง กล่าวกันว่าตั้งแต่ตั้งกองทุนมา Simons สามารถบริโภคบุหรี่ได้อย่างต่ำวันละสามซอง หุ้นส่วนที่ก่อตั้งกองทุนด้วยกันมาก็ต้องยอมลาออกเพราะทน กับความกดดันไม่ไหว เคสที่แย่ที่สุดก็คงหนีไม่พ้นนักคณิตศาตร์ของกองทุนที่ ฆ่าภรรยาตัวเอง และฆ่าตัวตายตาม

Simons เป็น quant ที่หลบหลีกมรสุมทางการเงินได้เป็นอย่างดี เนื่องจากความรู้ความเข้าใจ ทางคณิตศาสตร์ของเขาลึกซึ้งพอ ที่จะมองออกว่า ความงามของสมการ ความงามของโมเดลทางคณิตศาสตร์นั้น (Guassian Bell Curve, EMH, CAPM, Black Scholes เป็นต้น) เอามาประยุกต์ใช้กับความโลภ ความโกลาหล ของมนุษย์ที่มาปฎิสัมพันท์ในตลาดไม่ได้

โมเดล ทฤษฎี หรือหลักการใดๆก็ตาม ต่อให้มีความงดงามทางคณิตศาสตร์เพียงใด มีความโด่งดังมากมายเพียงใด หากมันไม่สามารถที่จะทำเงินได้ มันก็ไม่มีธุระกงการใดๆใน Renaissance Technologies


*สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นกับระบบการทำงานในอเมริกา งาน full time โดยทั่วไปจะมีชั่วโมงการทำงานต่ออาทิตย์ไม่ต่ำกว่า 40 ชั่วโมง




6 comments:

NuRun said...

ถ้าสาวๆคิดแบบนี้กันหมด คงไม่มี GEEK ไหนที่เป็นโสด = ="

AmatuerTrader said...

40 ชม ทำงานส่วนที่2 หมายถึง วันนึงจะให้ทำ แค่ 16 ชม เหรอครับ น้อยไปอะเปล่า 555

neo said...

สุดยอดเลยครับ พึ่งรู้ว่ากองทุนพี่มัดมี quant ด้วย อยากร่วมงานด้วยจังเลยครับ

patty said...

ชอบครับ

Anonymous said...

ก็เอาใจช่วย แล้วเผยแพร่ให้กว้างขวางมากกว่านี้นะครับ ถึงแม้จะไม่ได้เป็นนักล่า แต่คนที่เป็นเหยื่อ เฮดจ์ฟัน จะได้ลดน้อยลง

Unknown said...
This comment has been removed by the author.